3/20/08
17 กรกฎาคม 2550 สธ.รับมอบเครื่องตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหารให้ผลเร็วแม่นยำ
17 กรกฎาคม 2550 16:14 น.
สธ.รับมอบเครื่องตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหาร เครื่องดื่ม และยา ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่จากอเมริกา มูลค่ากว่า 3,000,000 บาท ใช้เทคนิคตรวจสอบโดยไม่ต้องใช้สารเคมี ให้ผลรวดเร็ว แม่นยำ พร้อมอบรมเทคนิคการใช้เครื่องมือให้ชำนาญก่อนนำไปใช้ที่ด่านอาหารและยาแนวชายแดนไทย
วันนี้ (17 ก.ค.) นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.ไพจิตร์ วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รับมอบเครื่อง เอฟที เอ็นไออาร์ สเป็คโทรมิเตอร์ (FT-NIR Spectrometer : Fourier Transform Neared Infrared Spectrometer) ซึ่งเป็นเครื่องตรวจวิเคราะห์คุณภาพและปริมาณสารในอาหาร เครื่องดื่ม และยา ฯลฯ พร้อมอุปกรณ์สำหรับการตรวจ 1 ชุด มูลค่ารวม 3,000,000 บาท จากนางเครือวัลย์ สมณะ ประธานกรรมการบริหารบริษัท เบคไทย กรุงเทพอุปกรณ์เคมีภัณฑ์ จำกัด และนายแฟรงค์ เอ็ม วาแสคซ์ (Mr. Frank M. Wasacz) ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก บริษัท เทอร์โม ฟิชเชอร์ ไซเอนทิฟิค (Thermo Fisher Scientific) ประเทศสหรัฐอเมริกา นพ.ปราชญ์ กล่าวว่า เครื่องมือตรวจวิเคราะห์ที่ได้รับมอบในวันนี้ เป็นเทคโนโลยีใหม่จากประเทศสหรัฐอเมริกา ในประเทศไทยมีใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม มีคุณสมบัติเด่น คือ ไม่ต้องใช้สารเคมีในกระบวนการทดสอบ จึงไม่ทำลายตัวอย่างสินค้าที่นำมาตรวจสอบ และลดการทำลายสิ่งแวดล้อม สามารถวัดค่าคุณภาพและปริมาณสารที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว มีความแม่นยำสูง ถือเป็นการพัฒนาศักยภาพการตรวจทางห้องปฏิบัติการของกระทรวงสาธารณสุขขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง นพ.ปราชญ์ กล่าวต่อไปว่า สธ.จะนำเครื่องมือดังกล่าวไปประจำที่ด่านอาหารและยาตามแนวชายแดน เพื่อตรวจสอบอาหารและยาที่นำเข้าจากต่างประเทศ ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ซึ่งที่ผ่านมาการทดสอบใช้ชุดตรวจสอบสารเคมีเบื้องต้น เมื่อพบตัวอย่างที่สงสัยจะส่งตรวจสอบที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งมี 14 ศูนย์ทั่วประเทศ และตรวจยืนยันผลที่ห้องปฏิบัติการของสำนักพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์อีกครั้ง โดยการทดสอบต้องใช้น้ำยาเคมีในการตรวจวิเคราะห์ และใช้ระยะเวลาตรวจสอบนาน ทำให้สินค้าที่เป็นผลไม้ หรืออาหารบางชนิดเน่าเสีย เกิดความเสียหายแก่ผู้ประกอบการ ด้าน นพ.ไพจิตร์ วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า เครื่องเอฟที เอ็นไออาร์ สเปคโทมิเตอร์ เป็นเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์คุณภาพสารเคมี ด้วยระบบแสงอินฟราเรด ช่วงความยาวคลื่น 780 ถึง 2,500 นาโนเมตร ให้แสงตกกระทบบนตัวอย่างที่ต้องการตรวจ โดยโมเลกุลของสารที่มีไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบจะเกิดการสั่นและดูดกลืนแสง ทำให้ไม่ต้องใช้ความร้อน หรือใส่สารเคมีเพิ่มเติม สามารถตรวจสอบปริมาณสารที่ต้องการวิเคราะห์ว่าตรงตามค่ามาตรฐานหรือไม่ เช่น ค่าปริมาณร้อยละของสารโปรตีน ไขมัน ความชื้น สารอะไมโลส สารอะไมโลเพคติน รวมทั้งน้ำตาล กรดซิตริกในผลไม้ และสารสำคัญต่างๆ ในเม็ดยาและอื่นๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว แม่นยำและไม่ก่อพิษสิ่งแวดล้อม โดยผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ จะอบรมวิธีการใช้เครื่องมือแก่เจ้าหน้าที่ด้านการตรวจวิเคราะห์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในวันที่ 17 และ 18 กรกฎาคมนี้
17 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 สธ.รับมอบเครื่องไฮเทคมูลค่ากว่า 3 ล้านบาท ตรวจคุณภาพอาหารและยา ตามแนวชายแดน
กระทรวงสาธารณสุข รับมอบเครื่องตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหาร เครื่องดื่ม และยา ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่จากอเมริกา มูลค่ากว่า 3,000,000 บาท ใช้เทคนิคตรวจสอบโดยไม่ต้องใช้สารเคมี ให้ผลรวดเร็ว แม่นยำ พร้อมอบรมเทคนิคการใช้เครื่องมือให้ชำนาญก่อนนำไปใช้ที่ด่านอาหารและยาแนวชายแดนไทย
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รับมอบเครื่อง เอฟที เอ็นไออาร์ สเป็คโทรมิเตอร์ (FT-NIR Spectrometer : Fourier Transform Neared Infrared Spectrometer) ซึ่งเป็นเครื่องตรวจวิเคราะห์คุณภาพและปริมาณสารในอาหาร เครื่องดื่ม และยา ฯลฯ พร้อมอุปกรณ์สำหรับการตรวจ 1 ชุด มูลค่ารวม 3,000,000 บาท จากนางเครือวัลย์ สมณะ ประธานกรรมการบริหารบริษัทเบคไทย กรุงเทพอุปกรณ์เคมีภัณฑ์ จำกัด และนายแฟรงค์ เอ็ม วาแสคซ์ (Mr. Frank M. Wasacz) ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค บริษัทเทอร์โม ฟิชเชอร์ ไซเอนทิฟิค (Thermo Fisher Scientific) ประเทศสหรัฐอเมริกา
นายแพทย์ปราชญ์กล่าวว่า เครื่องมือตรวจวิเคราะห์ที่ได้รับมอบในวันนี้ เป็นเทคโนโลยีใหม่จากประเทศสหรัฐอเมริกา ในประเทศไทยมีใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม มีคุณสมบัติเด่นคือ ไม่ต้องใช้สารเคมีในกระบวนการทดสอบ จึงไม่ทำลายตัวอย่างสินค้าที่นำมาตรวจสอบ และลดการทำลายสิ่งแวดล้อม สามารถวัดค่าคุณภาพและปริมาณสารที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว มีความแม่นยำสูง ถือเป็นการพัฒนาศักยภาพการตรวจทางห้องปฏิบัติการของกระทรวงสาธารณสุขขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง
นายแพทย์ปราชญ์กล่าวต่อไปว่า กระทรวงสาธารณสุข จะนำเครื่องมือดังกล่าวไปประจำที่ด่านอาหารและยาตามแนวชายแดน เพื่อตรวจสอบอาหารและยาที่นำเข้าจากต่างประเทศ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งที่ผ่านมาการทดสอบใช้ชุดตรวจสอบสารเคมีเบื้องต้น เมื่อพบตัวอย่างที่สงสัยจะส่งตรวจสอบที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งมี 14 ศูนย์ทั่วประเทศ และตรวจยืนยันผลที่ห้องปฏิบัติการของสำนักพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์อีกครั้ง โดยการทดสอบต้องใช้น้ำยาเคมีในการตรวจวิเคราะห์ และใช้ระยะเวลาตรวจสอบนาน ทำให้สินค้าที่เป็นผลไม้ หรืออาหารบางชนิดเน่าเสีย เกิดความเสียหายแก่ผู้ประกอบการ
ทางด้านนายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า เครื่องเอฟที เอ็นไออาร์ สเป็คโทรมิเตอร์ เป็นเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์คุณภาพสารเคมี ด้วยระบบแสงอินฟราเรด ช่วงความยาวคลื่น 780 ถึง 2,500 นาโนเมตร ให้แสงตกกระทบบนตัวอย่างที่ต้องการตรวจ โดยโมเลกุลของสารที่มีไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบจะเกิดการสั่นและดูดกลืนแสง ทำให้ไม่ต้องใช้ความร้อนหรือใส่สารเคมีเพิ่มเติม สามารถตรวจสอบปริมาณสารที่ต้องการวิเคราะห์ว่าตรงตามค่ามาตรฐานหรือไม่ เช่น ค่าปริมาณร้อยละของสารโปรตีน ไขมัน ความชื้น สารอะไมโลส สารอะไมโลเพคติน รวมทั้งน้ำตาล กรดซิตริกในผลไม้ และสารสำคัญต่าง ๆ ในเม็ดยาและอื่น ๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว แม่นยำและไม่ก่อพิษสิ่งแวดล้อม โดยผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ จะอบรมวิธีการใช้เครื่องมือแก่เจ้าหน้าที่ด้านการตรวจวิเคราะห์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในวันที่ 17 และ 18 กรกฎาคมนี้
17 ก.ค. สธ.รับเครื่องตรวจอาหารไฮเทคคุมเข้มชายแดน
นายแพทย์ปราชญ์กล่าวว่า เครื่องมือตรวจวิเคราะห์ที่ได้รับมอบในวันนี้ เป็นเทคโนโลยีใหม่จากประเทศสหรัฐอเมริกา ในประเทศไทยมีใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม มีคุณสมบัติเด่นคือ ไม่ต้องใช้สารเคมีในกระบวนการทดสอบ จึงไม่ทำลายตัวอย่างสินค้าที่นำมาตรวจสอบ และลดการทำลายสิ่งแวดล้อม สามารถวัดค่าคุณภาพและปริมาณสารที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว มีความแม่นยำสูง ถือเป็นการพัฒนาศักยภาพการตรวจทางห้องปฏิบัติการของกระทรวงสาธารณสุขขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง
นายแพทย์ปราชญ์กล่าวต่อไปว่า กระทรวงสาธารณสุข จะนำเครื่องมือดังกล่าวไปประจำที่ด่านอาหารและยาตามแนวชายแดน เพื่อตรวจสอบอาหารและยาที่นำเข้าจากต่างประเทศ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งที่ผ่านมาการทดสอบใช้ชุดตรวจสอบสารเคมีเบื้องต้น เมื่อพบตัวอย่างที่สงสัยจะส่งตรวจสอบที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งมี 14 ศูนย์ทั่วประเทศ และตรวจยืนยันผลที่ห้องปฏิบัติการของสำนักพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์อีกครั้ง โดยการทดสอบต้องใช้น้ำยาเคมีในการตรวจวิเคราะห์ และใช้ระยะเวลาตรวจสอบนาน ทำให้สินค้าที่เป็นผลไม้ หรืออาหารบางชนิดเน่าเสีย เกิดความเสียหายแก่ผู้ประกอบการ
ทางด้านนายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า เครื่องเอฟที เอ็นไออาร์ สเป็คโทรมิเตอร์ เป็นเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์คุณภาพสารเคมี ด้วยระบบแสงอินฟราเรด ช่วงความยาวคลื่น 780 ถึง 2,500 นาโนเมตร ให้แสงตกกระทบบนตัวอย่างที่ต้องการตรวจ โดยโมเลกุลของสารที่มีไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบจะเกิดการสั่นและดูดกลืนแสง ทำให้ไม่ต้องใช้ความร้อนหรือใส่สารเคมีเพิ่มเติม สามารถตรวจสอบปริมาณสารที่ต้องการวิเคราะห์ว่าตรงตามค่ามาตรฐานหรือไม่ เช่น ค่าปริมาณร้อยละของสารโปรตีน ไขมัน ความชื้น สารอะไมโลส สารอะไมโลเพคติน รวมทั้งน้ำตาล กรดซิตริกในผลไม้ และสารสำคัญต่าง ๆ ในเม็ดยาและอื่น ๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว แม่นยำและไม่ก่อพิษสิ่งแวดล้อม โดยผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ จะอบรมวิธีการใช้เครื่องมือแก่เจ้าหน้าที่ด้านการตรวจวิเคราะห์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในวันที่ 17 และ 18 กรกฎาคมนี้.
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข รับมอบเครื่องตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหารและยา เพื่อนำไปประจำด่านชายแดน หลังมีผู้ร้องเรียนเจ้าหน้าที่ตรวจสอบล่าช้า
17 มกราคม พ.ศ. 2551 อย.ไทย-จีนคุมคุณภาพสินค้า สนใจเมืองไทยใช้ช่องซีแอล
นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความร่วมมือทางวิชาการกับสำนักงานอาหารและยาของประเทศจีน (State Food and Drug Administration : SFDA) ว่า ได้หารือในประเด็นสำคัญ ได้แก่ การนำเทคนิคของอุปกรณ์ตรวจสอบคัดกรองคุณภาพยา ได้แก่ เครื่องสเปคโตรมิเตอร์วัดสเปคตรัมการสะท้อน การทะลุผ่าน และการดูดกลืนแสง (Near Infrared Spectrometer-NIR) มาใช้ตรวจคุณภาพยาในประเทศไทย เนื่องจากเป็นวิธีการตรวจสอบเบื้องต้นที่มีข้อดีตรงที่ไม่ทำลายผลิตภัณฑ์ ลดภาระในการตรวจวิเคราะห์ สามารถคัดกรองผลิตภัณฑ์ที่สงสัยได้อย่างรวดเร็ว นพ.ศิริวัฒน์กล่าวว่า อย.ประเทศจีนยินดีให้การสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรของเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับกฎระเบียบและการควบคุมตามกฎหมาย โดยจัดทำฐานข้อมูลกฎหมาย พัฒนาเว็บไซต์เป็นภาษาอังกฤษ และกำหนดตัวบุคคลที่สามารถติดต่อได้เมื่อพบผลิตภัณฑ์ที่เป็นปัญหานอกจากนี้ การที่ผู้ประกอบการของไทยบางส่วนยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับช่องทางการติดต่อและระเบียบกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องของประเทศจีน จึงมักประสบปัญหาการจดทะเบียนสินค้าประเภทยาและอาหารในจีน ทั้งที่ผลิตภัณฑ์อาหารและยาบางประเภทมีคุณภาพและเป็นที่นิยมในประเทศเพื่อนบ้านของไทย แต่ไม่สามารถเปิดตลาดเพื่อจำหน่ายในจีนได้ นพ.ศิริวัฒน์กล่าวว่า SFDA ของจีนได้อนุเคราะห์ในการจัดหาผู้ทรงคุณวุฒิมาเป็นวิทยากรบรรยายในเรื่องกฎระเบียบของจีนให้แก่ผู้ประกอบการฝ่ายไทย และฝ่ายไทยจะจัดส่งผู้เชี่ยวชาญไปบรรยายแก่ผู้ประกอบการจีนเช่นกัน ส่วนทางด้านการพัฒนาการควบคุมคุณภาพวัคซีน จะมีการพัฒนาความร่วมมือกับ อย.ในเรื่องต่างๆ เช่น การตรวจสอบการทดลองทางคลีนิค หน่วยงานที่ได้รับมอบอำนาจในการแลกเปลี่ยนข้อมูลการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ก่อนออกสู่ท้องตลาด การตรวจประเมินคุณภาพและการตรวจมาตรฐานการผลิตวัคซีน โดยจะมีการหารือในการประชุมครั้งต่อไป การประชุมร่วมกับ อย. ของประเทศจีนประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งจะช่วยให้ทั้ง 2 ประเทศได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำสิ่งที่เป็นประโยชน์มาใช้ในการดำเนินงานด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพต่อไป ทั้งนี้ อย. ประเทศจีนยังมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องการบังคับใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยา (ซีแอล) โดยได้เสนอให้มีกลุ่มแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างไทยและจีนในประเด็นนี้ด้วย (กรอบบ่าย)หน้า 10
3/19/08
การเปลี่ยนแปลงคุณภาพทางกายภาพของถั่วเหลืองภายใต้การอบแห้งแบบฟลูอิไดซ์เบดโดยใช้ NIR ร่วมกับอากาศร้อน
NIR Spectrometer เครื่องมือสำหรับวิเคราะห์สารอินทรีย์
เรียบเรียงโดย พรรณทิพย์ ห่อศรีสัมพันธ์
NIR Spectroscopy เป็นวิธีการวิเคราะห์โมเลกุลที่ไม่ทำลาย ตัวอย่าง โดยอาศัยการตรวจวัดปริมาณแสงที่ถูกดูดกลืนโดยตัวอย่างเป็นวิธีการที่ให้ผลที่ดีและรวดเร็ว ถูกนำมาใช้ในการตรวจวัดผลิตภัณฑ์ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ตั้งแต่การตรวจสอบวัตถุดิบไปจนถึงการตรวจสอบและปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้
บทนำ
NIR (Near-infrared) Spectroscopy ไดถ้ ูกนำมาใชง้ านในชว่ งปลายของทศวรรษ 1970 เป็นวิธีการวิเคราะห์โมเลกุลที่ไม่ทำลายตัวอย่าง โดยการตรวจวัดปริมาณแสงที่ถูกตัวอย่างดูดกลืนในช่วงความยาวคลื่นประมาณ 400-2500 นาโนเมตร NIR Spectroscopy มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมหลายๆ ด้านโดยเฉพาะด้านอาหารและยา ซึ่งได้ถูกนำมาใช้ในการจำแนกองค์ประกอบและคุณสมบัติทางกายภาพต่างๆของตัวอย่างทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณได้เป็นอย่างดี
หลักการ
เมื่อฉายแสงในช่วงความยาวคลื่น NIR ลงไปบนตัวอย่าง แสงที่มีพลังงานเพียงพอจะถูกดูดกลืนและกระตุ้นให้เกิดการสั่นของโมเลกุลใน functional groups ต่างๆ 2 ลักษณะ คือ การยืดหด (stretching) และ การเปลี่ยนมุม (blending) ช่วงความถี่ overtones และ combination ของหมู่ฟังก์ชัน O-H, C-H, N-H และ O=H ซึ่งเป็น โมเลกุลหลักของสารอินทรีย์ ถ้าโครงสร้างโมเลกุลของสารตัวอย่างที่ตรวจวัดมีความซับซ้อนสเปคตรัมที่ได้จะยิ่งมีการซ้อนทับกันมากขึ้น เมื่อทำการวิเคราะห์สเปคตรัมเหล่านี้จึงต้องทำการแยกแยะและแสดงลักษณะเฉพาะโดยนำวิธีการทางคณิตศาสตร์และสถิติ (Chemometrics) มาใช้ในการหาค่าเฉลี่ย
เครื่องมือ
ส่วนประกอบหลักและการออกแบบเครื่องมือ Spectrometer แต่ละประเภทจะมีความคล้ายคลึงกัน โดย NIR นั้นจะประกอบไปด้วย
แหล่งกำเนิดแสง ตัวเลือกช่วงความยาวคลื่นที่ต้องการ ตำแหน่งที่วางตัวอย่าง เครื่องตรวจวัดและบันทึกผล
1. แหล่งกำเนิดรังสีในช่วง NIR นั้นโดยส่วนใหญ่จะใช้หลอดทังสเตนเพราะราคาถูกและใช้งานได้ทันที แล้วใช้ตัวฟิลเตอร์
ช่วยกรองแสงในช่วงความถี่ที่ไม่ต้องการออกเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวอย่างร้อนจนเกินไป หรือใช้ LED เป็นแหล่งกำเนิดโดยค่าความยาวคลื่นที่ได้จะขึ้นกับสารที่ใช้ทำตัว LED อย่างไรก็ตามLED ไม่สามารถให้ความยาวคลื่นในช่วง 1700-2500 นาโนเมตรได้ ซึ่งเป็นช่วงที่นิยมนำไปใช้งาน แต่ก็เหมาะสำหรับเครื่องมือแบบพกพาเพราะต้องการกำลังไฟฟ้าน้อย มีอายุการใช้งานที่ยาวนานและพลังงานของผลลัพธ์ที่ได้ก็ไม่เพิ่มสูงขึ้นแม้จะมีการเพิ่มกำลังวัตต์ของแหล่งกำเนิด
2. โมโนโครมาเตอร์ (Monochromator) ช่วยในการกระจายแสงโดยอาศัยเกรตติ้ง และควบคุมให้อยู่ในช่วงความยาวคลื่นที่ต้องการด้วยช่องผ่านแสงเข้า (Entrance Slit) และช่องผ่านแสงออก(Exit Slit) ตัวอย่างจะมีการดูดกลืน หรือยินยอมให้รังสีทะลุผ่านหรือสะท้อนกลับนั้น ขึ้นกับรูปแบบและองค์ประกอบของตัวอย่าง เช่น ของแข็ง ของเหลว อิมัลชัน สารแขวนลอย เป็นต้น
3. ตำแหน่งที่วางตัวอย่างจะต้องได้รับการออกแบบให้มีความเหมาะสมกับรูปแบบของการวิเคราะห์และปริมาณของ
อนุภาคที่ใช้วิเคราะห์ เช่น ถ้วยสำหรับใส่ตัวอย่างจะเหมาะสำหรับตัวอย่างที่เป็นตะกอนแห้งหรือในกรณีที่ตัวอย่างมีปริมาณมากถ้วยเหล่านี้จะมีการหมุน เป็นต้น เซลล์สำหรับใส่ตัวอย่างเหล่านี้จะต้องทำจากวัสดุที่ยอมให้แสงในช่วง NIR สามารถทะลุผ่านได้ เช่น ควอตซ์ หรือแก้ว และมีระยะทางเดินของแสงที่เหมาะสมสำหรับตัวอย่าง
4. อุปกรณ์สำหรับตรวจวัด (Detector) ใช้ในการตรวจวัดปริมาณแสงที่ทะลุผ่านตัวอย่าง โดยอาศัยหลักการทาง
Photoconductive Effect การเลือกเครื่องตรวจวัดนั้นขึ้นกับช่วงความยาวคลื่นและการออกแบบตัวแปรต่างๆ ของ Spectrometer ซึ่งซิลิกอนจะเหมาะสำหรับแสงในช่วงความยาวคลื่นที่มองเห็นได้และ NIR ช่วงความยาวคลื่นสั้น (400-1100 นาโนเมตร) ในขณะที่ลีดซัลไฟด์หรือเซเลเนียม
รูปที่ 1,2 การเปลี่ยนแปลงพันธะของโมเลกุลรูปแบบต่างๆ
จะเหมาะสำหรับ NIR ในชว่ งความยาวคลื่น 1100-2500 นาโนเมตร
นอกจากนี้ผู้ผลิตบางรายอาจมีการใช้อินเดียมแกลเลียมอาเซไนด์ในการตรวจวัดความยาวคลื่นในช่วง 800-1700 นาโนเมตร สำหรับเครื่องตรวจวัดที่นิยมใช้ในเครื่องมือประเภทอื่นๆ เช่น ไดโอดอาเรย์ ก็ได้ถูกนำมาใช้ในการตรวจวัด NIR เพิ่มมากขึ้น แต่ไม่เหมาะสำหรับเครื่องมือแบบพกพาเพราะจะชำรุดได้ง่าย และเมื่อมีการเปลี่ยนอุปกรณ์บ่อยๆ จะทำให้ประสิทธิภาพในการตรวจวัดลดลง Spectrometer ขนาดเล็กๆ จะใช้ CCD เป็นเครื่องตรวจวัดแต่มีข้อจำกัดอยู่ที่สามารถตรวจวัดแสงได้เฉพาะในช่วงความยาวคลื่นที่มองเห็นได้และ NIR ในช่วงความยาวคลื่นสั้นเท่านั้น
โดยทั่วไปแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้จะสามารถแบ่งได้เป็น ข้อมูล สเปคตรัม ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปใช้ในการสร้างแบบสอบเทียบหรือ
ใช้ตรวจวัดค่าที่สนใจต่อไป และแบบที่ให้ผลที่สนใจโดยตรงคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ได้เข้ามามีบทบาทในการรวบรวมและ
จัดการข้อมูลต่างๆ เหล่านี้
องค์ประกอบภายในของ NIR | เครื่อง NIR |
ข้อดีและข้อจำกัดของ NIR
ข้อดี
ข้อดีของ NIR Spectrometry ที่เหนือกว่า MIR และ FIR คือ ต้องการการเตรียมตัวอย่างเพียงเล็กน้อยหรือไม่ต้องทำ และให้ข้อมูลตามเวลาจริง นอกจากนี้ NIR ยังแตกต่างจากวิธีการวิเคราะห์แบบอื่นๆ อีกคือ ให้ผลการวิเคราะห์ที่รวดเร็ว ไม่ทำลายตัวอย่างไม่ใช้สารเคมีหรือทิ้งสารตกค้างตรวจวัดองค์ประกอบหรือตัวแปรต่างๆ ได้พร้อมๆ กันและสามารถติดตั้งเครื่องมือได้ทุกสถานที่ใช้งานง่ายโดยไม่ต้องอาศัยนักเคมี ทำงานได้โดยไม่ต้องใช้ตู้ดูดควันระบบระบายน้ำ ความแม่นยำของ NIR นั้นขึ้นกับความแม่นยำของวิธีมาตรฐานที่ใช้ในการควบคุม
NIR มีข้อดีมากกว่า MIR และ FIR อีกข้อหนึ่งก็คือ เรื่องของความร้อนรบกวน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในทุกชิ้นจะเป็นแหล่งกำเนิดความร้อนรบกวนต่อเครื่องตรวจวัดสัญญาณในช่วง MIR และ FIR แต่จะส่งผลต่อเครื่องตรวจวัด NIR เพียงเล็กน้อยหรือไม่มีผลเลย
สเปกตรัมจำนวนมากที่ครอบคลุมการวิเคราะห์ทั้งหมด (รูปบน) การทำ Math Treatment ชนิด 2° Derivative (รูปล่าง) | NIR ระบบ Digital Dispersive Grating (รูปบน) ส่วนประกอบเครื่อง NIR ระบบ Digital Dispersive Grating (รูปล่าง) |
ข้อจำกัด
NIR มีข้อจำกัดที่สามารถตรวจวัดได้เฉพาะโมเลกุลของสารอินทรีย์เท่านั้น เพราะโลหะ เช่น เงินหรือตะกั่ว และสารอนินทรีย์ ส่วนใหญ่ไม่สามารถดูดกลืนรังสีในช่วง NIR ได้เนื่องจาก NIR ไม่ได้เป็นระบบ stand-alone ดังนั้น การสอบเทียบส่วนประกอบหรือตัวแปรต่างๆรวมทั้งการวิเคราะห์ตัวอย่างด้วยวิธีมาตรฐานอยู่เป็นประจำจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการสอบเทียบยังคงให้ความน่าเชื่อถืออยู่และจะต้องทำการปรับปรุงการสอบเทียบให้ทันสมัยอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าวิธีการทางด้านคณิตศาสตร์และสถิติจะเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญของสเปคตรัมที่มีการซ้อนทับแต่ก็ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการพัฒนาในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลของสเปคตรัมและองค์ประกอบหรือตัวแปรต่างๆ เช่น คุณสมบัติของหมู่ฟังก์ชัน ในเชิงสถิติเป็นอย่างดี ซึ่งการที่จะได้ข้อมูลเหล่านี้ก็ต้องผ่านกระบวนการวิเคราะห์มาตรฐานมาก่อนเทคโนโลยีของ NIR ในปัจจุบัน
NIR ระบบ Digital Dispersive Grating หลักการทำงานของเครื่อง NIR ระบบ Digital DispersiveGrating คือ แสงจากแหล่งให้พลังงานแสงจะถูกกระจายและควบคุมด้วยระบบโมโนโครมาเตอร์ให้อยู่ในช่วงความยาวคลื่นที่ต้องการส่งผ่านไปยังตัวอย่าง และวัดปริมาณแสงที่ตัวอย่างดูดกลืนไว้ด้วยอุปกรณ์สำหรับตรวจวัดแล้วแปลงเป็นสัญญานส่งเข้าสู่ส่วนประมวลผลตามลำดับในส่วนของโปรแกรมการทำงานจะบันทึกปริมาณแสงที่ตัวอย่างดูดกลืนไว้เทียบกับความยาวคลื่นต่างๆ เรียกว่า สเปกตรัม (Spectrum) แล้วนำมาจับคู่ (Matching) กับค่าการวิเคราะห์พารามิเตอร์ต่างๆ ที่ทราบจากห้องปฏิบัติการ
เมื่อได้จำนวนตัวอย่างมากพอ (ครอบคลุมค่าการวิเคราะห์) เรียกว่า การทำ Calibration ดังรูปที่ 4 จึงทำการสร้างสมการ โดยหาความสัมพันธ์ด้วยเทคนิค Chemometric ได้แก่
1. Math Treatments แบบต่างๆ เช่น 1o, 2o Derivative (ดังรูปที่ 5)
2. Principal Component Analysis (PCA)
3. Regression Method แบบต่างๆ เช่น MLR, PLS, MPLS เป็นต้น
จากนั้นทดสอบความพร้อมของสมการสำหรับการใช้งาน (Validation) ด้วยกลุ่มตัวอย่างที่ทราบค่าการวิเคราะห์
พารามิเตอร์ต่างๆ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่คล้ายกับตัวอย่างที่ใช้ทำสมการ หากผลการทดสอบการทำนาย/วิเคราะห์ที่ได้ใกล้เคียงกับค่าการวิเคราะห์ที่ทราบ หรือผลการทดสอบมีค่าความผิดพลาดอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถยอมรับได้ ก็สามารถนำสมการที่ได้ไปใช้ในการทำนาย/วิเคราะห์ตัวอย่างจริงได้
การประยุกต์ใช้งาน
การตรวจสอบวัตถุดิบ
ใช้ในการจำแนกความแตกต่างของวัตถุ เช่น สารที่เป็น excipients หรือสารที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบ วิธีการจำแนกวัตถุดิบด้วย NIR นี้ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมยา ซึ่งสามารถตรวจสอบวัสดุในปริมาณมากได้โดยไม่ต้องเสียเวลาไปกับเทคนิค wet chemical หรือโครมาโตกราฟฟีแบบเดิมๆ สเปคตรัมที่ได้จากตัวอย่างใหม่ๆ จะถูกตรวจสอบแล้วนำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลมาตรฐานเพื่อให้ได้ผลการจำแนกที่รวดเร็วการตรวจวัดความชื้นน้ำเป็นสารที่ดูดกลืนแสงในช่วง NIR อย่างรุนแรง จึงทำให้เหมาะต่อการวิเคราะห์เชิงปริมาณด้วย NIR ซึ่งสเปคตรัมจะมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อความชื้นมีการเปลี่ยนแปลง ระดับความชื้นสามารถตรวจวัดได้ด้วยโมเดลการสอบเทียบที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นเทียบกับวิธีการมาตรฐาน เช่น Karl Fischer Titration ความชื้นเป็นตัวแปรที่สำคัญในผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เคมี ยา และสิ่งทอ NIR สามารถตรวจวัดความชื้นในผลิตภัณฑ์แห้งเยือกแข็งได้โดยที่ไม่ต้องนำตัวอย่างออกจากภาชนะ ตรวจวัดปริมาณน้ำทั้งหมดในผลิตภัณฑ์ยาที่อยู่ในกระบวนการทำแห้ง หรือใช้ตรวจวัดความชื้นในกระบวนการตกผลึกเพื่อหาจุดยุติของการตกผลึก
การตรวจวัด Polymorph
การแยกแยะรูปแบบของ Polymorph ในสารประกอบของตัวยาเป็นสิ่งจำเป็นมาก เพราะ Polymorph ต่างชนิดกันจะให้ประสิทธิผลและมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน การวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพด้วย NIR และวิธีการที่ใช้ในการจำแนกนั้นได้ถูกพัฒนาให้สามารถแยกแยะสาร Polymorph ที่กำลังพิจารณาออกจากสารในรูปแบบอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็วและไวต่อสารแต่ละชนิดมากกว่าวิธีการตรวจสอบโครงสร้างผลึกด้วยรังสีเอ็กซ์การตรวจสอบผลิตภัณฑ์ยา
การตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุดท้ายในรูปของยาอัดเม็ดสามารถทำได้โดยการให้แสงในช่วง NIR ทะลุผ่านหรือสะท้อน ซึ่งการใช้ NIR ในการตรวจวัดนั้นจะช่วยรักษาความสมบูรณ์ของตัวยา ทำให้สามารถนำกลับมาตรวจสอบเพิ่มเติมหรือเก็บไว้ใช้วิเคราะห์ต่อไปได้สเปคตรัมที่ได้จะถูกนำมาใช้ในการพัฒนาวิธีการจำแนกตัวยาเชิงคุณภาพได้ เช่น ใช้ในการตรวจวัดค่าความแข็ง
การวิเคราะห์ขนาดอนุภาค
NIR มักจะใช้วิเคราะห์ขนาดอนุภาคที่อยู่ในระหว่างกระบวนการทำให้เป็นเม็ดเล็กๆ แล้วนำมาผสมกัน ตัวอย่างที่มีขนาดอนุภาคแตกต่างกันจะให้ผลของการกระเจิงแสงที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสเปคตรัมและสามารถใช้หาขนาดเฉลี่ยของตัวอย่างได้
การตรวจวัดปฏิกิริยา
NIR จะให้ข้อมูลความเข้มข้นของสารตัวอย่าง การเกิดรูปแบบของกาก และจุดยุติของปฏิกิริยา เช่น การรวมตัวกับไฮโดรเจน การหมักเป็นต้น ซึ่งจะเป็นตัวช่วยลดอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากปฏิกิริยา
บทสรุป
ด้วยความยืดหยุ่นในการใช้งาน ปราศจากการใช้สารเคมี ใช้งานง่าย และให้ผลการวิเคราะห์ที่รวดเร็ว รวมถึงการพัฒนาตัวเครื่องมือและซอฟต์แวร์ให้สามารถนำ NIR Spectrometer ไปใช้งานได้อย่างหลากหลายมากยิ่งขึ้น ทำให้ NIR Spectrometer เข้ามามีบทบาทในเรื่องของการรับประกันคุณภาพของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นอย่างมาก
เอกสารอ้างอิง
1. http://www.chemistry.adelaide.edu.au/external/soc-rel/content/nir.htm
2. http://www.princetoninstruments.com/spectroscopy/nir.aspx
3. James B. Reeves, III, Near Infrared Instrumentation, http://nte-serveur.
univ-lyon1.fr/nte/spectroscopie/reeves/internet.html
4. Introduction to NIR Technology, http://www.asdi.com/ASD-600510_ NIR_
Introduction.pdf
5. Katherine A. Bakeev, Near-Infrared Spectroscopy as a Process Analytical
Tool, Part I: Laboratory Applications, Spectroscopy, 18(11), November
2003, pp. 32-35, http://www.spectroscopymag.com/spectroscopy/article/
articleDetail.jsp?id=74624
6. Katherine A. Bakeev, Near-Infrared Spectroscopy as a Process Analytical
Tool, Part II: At-line and On-line Applications and Implementation Strategies,
Spectroscopy, 19(1), January 2004, pp. 39-42, http://www.spectroscopymag.com/
spectroscopy/article/articleDetail.jsp?id=84376
ขอขอบคุณ
คุณ กนกพร ชัยวุฒิกุล, บริษัท สิทธิพรแอสโซซิเอส จำกัด เอื้อเฟื้อข้อมูล
3/10/08
2009 nov. 7-16 conference
Conference venue and accommodation: |
Download printer friendly version |
3/2/08
Organic chemistry
Organic chemistry is a specific discipline within chemistry which involves the scientific study of the structure, properties, composition, reactions, and preparation (by synthesis or by other means) of chemical compounds consisting primarily of carbon and hydrogen, which may contain any number of other elements, including nitrogen, oxygen, the halogens as well as phosphorus, silicon and sulfur.[1][2] [3]
The original definition of "organic" chemistry came from the misconception that organic compounds were always related to life processes. Not only organic compounds support life on Earth, as life as we know it also depends on inorganic chemistry; for example, many enzymes rely on transition metals such as iron and copper; and materials such as shells, teeth and bones are part organic, part inorganic in composition. Apart from elemental carbon, only certain classes of carbon compounds (such as oxides, carbonates, and carbides) are conventionally considered inorganic. Biochemistry deals mainly with the natural chemistry of biomolecules such as proteins, nucleic acids, and sugars.
Because of their unique properties, multi-carbon compounds exhibit extremely large variety and the range of application of organic compounds is enormous. They form the basis of, or are important constituents of many products (paints, plastics, food, explosives, drugs, petrochemicals, to name but a few) and (apart from a very few exceptions) they form the basis of all earthly life processes.
The different shapes and chemical reactivities of organic molecules provide an astonishing variety of functions, like those of enzyme catalysts in biochemical reactions of live systems. The autopropagating nature of these organic chemicals is what life is all about.
Trends in organic chemistry include chiral synthesis, green chemistry, microwave chemistry, fullerenes and microwave spectroscopy.
1 Historical highlights
2 Classification of organic substances
2.1 Description and nomenclature
2.2 Hydrocarbons and functional groups
2.3 Aliphatic compounds
2.4 Aromatic and alicyclic compounds
2.5 Polymers
2.6 Biomolecules
2.7 Buckyballs
2.8 Others
3 Characteristics of organic substances
4 Molecular structure elucidation
5 Organic reactions
6 Synthetic organic chemistry
Diffraction grating
In optics, a diffraction grating is an optical component with a surface covered by a regular pattern of parallel lines, typically separated by a distance comparable to the wavelength of light. Light rays that pass through such a surface are bent as a result of diffraction, related to the wave properties of light. This diffraction angle depends on the wavelength of the light. In its simplest form, a diffraction grating could be a photographic slide with a fine pattern of black lines. However, for practical applications, most gratings have grooves or rulings on their surface rather than dark lines. Such gratings can be either transparent or reflective. Because of their ability of splitting light into different wavelengths (dispersion), gratings are commonly used in monochromators and spectrometers.
For a given grating, light with a larger wavelength generally has a larger diffraction angle. More precisely, a single wavelength can simultaneously have multiple discrete diffraction angles, called diffraction orders.
The principles of difraction gratings were discovered by James Gregory (astronomer and mathematician), about a year after Newton's Prism experiments, initially with artefacts such as bird feathers.The first man-made diffraction grating was made around 1785 by Philadelphia inventor David Rittenhouse, who strung hairs between two finely threaded screws. This was similar to notable German physicist Joseph von Fraunhofer's wire diffraction grating in 1821.
1 Theory of operation
2 Gratings as dispersive elements
3 Fabrication
4 Examples
Electromagnetic spectrum
The electromagnetic (EM) spectrum is the range of all possible electromagnetic radiation.[1] The "electromagnetic spectrum" (usually just spectrum) of an object is the characteristic distribution of electromagnetic radiation from that object.
The electromagnetic spectrum extends from below the frequencies used for modern radio (at the long-wavelength end) through gamma radiation (at the short-wavelength end), covering wavelengths from thousands of kilometres down to a fraction the size of an atom. It's thought that the short wavelength limit is the vicinity of the Planck length, and the long wavelength limit is the size of the universe itself (see physical cosmology), although in principle the spectrum is infinite and continuous.
Spectroscopy
Spectroscopy was originally the study of the interaction between radiation and matter as a function of wavelength λ. In fact, historically, spectroscopy referred to the use of visible light dispersed according to its wavelength, e.g. by a prism. Later the concept was expanded greatly to comprise any measurement of a quantity as function of either wavelength or frequency. Thus it also can refer to interactions with particle radiation or to a response to an alternating field or varying frequency ν. A further extension of the scope of the definition added energy E as a variable, once the very close relationship E=hν for photons was realized. A plot of the response as a function of wavelength — or more commonly frequency — is referred to as a spectrum; see also spectral linewidth.
Spectrometry is the measurement of these responses and an instrument which performs such measurements is a spectrometer or spectrograph, although these terms are more limited in use to the original field of optics from which the concept sprang.
Spectroscopy is often used in physical and analytical chemistry for the identification of substances through the spectrum emitted from or absorbed by them. Spectroscopy is also heavily used in astronomy and remote sensing. Most large telescopes have spectrometers, which are used either to measure the chemical composition and physical properties of astronomical objects or to measure their velocities from the Doppler shift of their spectral lines.
1 Classification of methods
1.1 Nature of excitation measured
1.2 Measurement process
2 Common types
2.1 Absorption
2.2 Fluorescence
2.3 X-ray
2.4 Flame
2.5 Visible
2.6 Ultraviolet
2.7 Infrared
2.8 Raman
2.9 Nuclear magnetic resonance
2.10 Photoemission
2.11 Mössbauer
3 Other types
4 Background subtraction
Infrared spectroscopy (IR spectroscopy)
1 Theory
2 Sample preparation
3 Typical method
4 Summary of absorptions of bonds in organic molecules
5 Uses and applications
6 Isotope effects
7 Fourier transform infrared spectroscopy
8 Two-dimensional infrared spectroscopy
Fourier transform spectroscopy
1 Continuous wave Michelson or Fourier transform spectrograph
1.1 Pulsed Fourier transform spectrometer
2 Multi-bounce
3 Fellgett Advantage
4 Converting spectra from time domain to frequency domain
5 References and notes
Near infrared spectroscopy (NIRS)
1 Theory
2 History
3 Medical Uses
4 Industrial Uses
5 Instrumentation
6 Applications
6.1 Astronomical spectroscopy
6.2 Remote monitoring
6.3 Medical uses
6.4 Particle measurement
7 References